การทำงาน ของ เอ็ดเวิร์ด ฮีธ

สมาชิกรัฐสภา (ค.ศ. 1950 - ค.ศ. 1965)

ฮีธได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1950 ซึ่งเขาได้ยื่นเรียกร้องต่อรัฐบาลพรรคแรงงานให้เข้าร่วมปฏิญญาชูมาน ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเบ็กซ์ลีย์ เขาได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างกระตือรือร้นเพื่อสนับสนุนผู้สมัครรุ่นใหม่ของเขตดาร์ทฟอร์ดซึ่งอยู่ใกล้เคียง อย่างมาร์กาเรต รอเบิตส์ หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันในนามมาร์กาเรต แทตเชอร์[1]

เขาได้รับการแต่งตั้งโดย วินสตัน เชอร์ชิล ให้เป็นกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 เขายังดำรงตำแหน่งกรรมการประสานงานรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1951 ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1955 ในสมัยรัฐบาลของแอนโทนี อีเดน

ตามธรรมเนียมที่วิปไม่พูดในรัฐสภา ฮีธจึงสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเกี่ยวกับวิกฤตการณ์คลองสุเอซได้ ในการประกาศลาออกของอีเดน ฮีธได้ส่งรายงานเกี่ยวกับความคิดเห็นของส.ส.พรรคอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งของอีเดนที่เป็นไปได้ รายงานนี้สนับสนุน ฮาโรลด์ แมคมิลแลน และช่วยให้แมคมินแลนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1957 ต่อมาแมคมิลแลนได้แต่งตั้งให้ ฮีธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล ฮีธ ได้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ หลังจากชนะการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 1959

ในปี ค.ศ. 1960 แมคมิลแลนได้แต่งตั้ง ฮีธ ลอร์ดผู้รักษาพระราชลัญจกร ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเจรจาเพื่อรักษาความพยายามแรกของสหราชอาณาจักรในการเข้าร่วมประชาคมยุโรป หลังจากการเจรจาอย่างกว้างขวาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อตกลงโดยละเอียดเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรของสหราชอาณาจักรกับประเทศในเครือจักรภพ เช่น นิวซีแลนด์ การเข้ามาของอังกฤษถูกคัดค้านโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล ในงานแถลงข่าวเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 ซึ่งทำให้ฮีธซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงานเป็นสมาชิกในตลาดร่วมของยุโรปสำหรับสหราชอาณาจักรผิดหวังเป็นอย่างมาก ก่อนที่เขาจะประสบความสำเร็จในการนำสหราชอาณาจักรเข้าร่วมประชาคมยุโรปเมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทศวรรษต่อมา[2][3]

หลังจากความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ความอัปยศครั้งใหญ่สำหรับนโยบายต่างประเทศของแมคมิลแลน ฮีธไม่ได้เป็นคู่แข่งในการเป็นผู้นำพรรคในการเกษียณอายุของมักมิลลันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1963 ภายใต้รัฐบาลของ เซอร์ อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์ เขาเป็นประธานหอการค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจ พลังงาน และ นโยบายอุตสาหกรรม และดูแลการยกเลิกการรักษาราคาขายปลีก

ผู้นำฝ่ายค้าน (ค.ศ. 1965 - ค.ศ. 1970)

หลังจากที่พรรคอนุรักษ์นิยมแพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1964 ฮิวม์ที่ได้พ่ายแพ้ได้เปลี่ยนกฎการเป็นผู้นำพรรคให้มีการลงคะแนนเสียงโดย ส.ส. แล้วจึงลาออก ในปีต่อมา ฮีธซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเงาในขณะนั้น และเพิ่งได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ดีจากการเป็นผู้นำในการต่อสู้กับร่างกฎหมายการเงินของแรงงาน ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคโดยไม่คาดคิด โดยได้รับคะแนน 150 คะแนน ชนะเรจินัลด์ เมาด์ลิง ซึ่งได้ 133 คะแนน และอีนอช โพเวลล์ซึ่งได้ 15 คะแนน[4] ทำให้ฮีธกลายเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมที่อายุน้อยที่สุดและดำรงตำแหน่งต่อไปหลังจากความพ่ายแพ้ของพรรคในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1966

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1968 อีนอช โพเวลล์ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "แม่น้ำแห่งเลือด" ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การอพยพไปยังสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นไม่นานฮีธได้โทรศัพท์หา มาร์กาเรต แทตเชอร์ เพื่อแจ้งเธอว่าเขากำลังจะไล่พาวเวลล์ออกจากรัฐบาลเงา เธอจำได้ว่าเธอ "คิดจริง ๆ ว่าควรปล่อยให้สิ่งต่างๆ เย็นลงในตอนนี้ แทนที่จะทำให้วิกฤติรุนแรงขึ้น" วันรุ่งขึ้น ฮีธไล่พาวเวลล์ออกไป ทำให้พรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวาหลายคนประท้วงคัดค้านการไล่โพเวลล์ออก[5] และฮีธก็ไม่เคยพูดกับโพเวลล์อีกเลย[6]

นายกรัฐมนตรี(ค.ศ. 1970 - ค.ศ. 1975)

การเลือกตั้ง ค.ศ. 1970

เมื่อการเลือกตั้งทั่วไปใกล้เข้ามาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1970 เอกสารนโยบายของพรรคอนุรักษ์นิยมก็หลุดออกมาจากโรงแรมเซลส์ดอนพาร์ก ซึ่งจะเสนอนโยบายที่เน้นตลาดเสรีเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและปัญหาเงินเฟ้อของประเทศ[7] ฮีธกล่าวว่าสุดสัปดาห์ที่เซลส์ดอนเป็นเพียงการยืนยันนโยบายที่มีการพัฒนาจริงตั้งแต่เขากลายเป็นผู้นำของพรรคอนุรักษ์นิยม ฮาโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน ตอบโต้โดยคิดว่าเอกสารดังกล่าวเป็นผู้แพ้คะแนนเสียง และขนานนามว่าเป็นผลงานของเซลส์ดอน แมน ตาม พลิตดาวน์แมน มนุษย์ที่มีการคาดว่าเป็นมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์[8] หลังจากนั้นพรรคอนุรักษ์นิยมของฮีธก็ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1970 ด้วย 330 ที่นั่งจาก 287 ที่นั่ง คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีในอนาคต มาร์กาเรต แทตเชอร์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์) วิลเลียม ไวท์ลอว์(ประธานสภาผู้แทนราษฎร) และอดีตนายกรัฐมนตรี อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)[9]

รัฐสวัสดิการ

ในช่วงปีแรกที่ดำรงตำแหน่งของฮีธ มีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้นเพื่อประโยชน์ของรัฐสวัสดิการ เช่น อาหารกลางวันในโรงเรียน แว่นตา ทันตกรรม และยา สิทธิในการได้รับผลประโยชน์การเจ็บป่วยของรัฐก็เปลี่ยนไปเช่นกันเพื่อให้จ่ายได้หลังจากสามวันแรกของการเจ็บป่วยเท่านั้น สิทธิในการได้รับผลประโยชน์การเจ็บป่วยของรัฐก็เปลี่ยนไปเช่นกันเพื่อให้จ่ายได้หลังจากสามวันแรกของการเจ็บป่วยเท่านั้น[10] อันเป็นผลมาจากการบีบงบประมาณการศึกษา การจัดหานมโรงเรียนฟรีจึงสิ้นสุดลงสำหรับเด็กอายุ 8 ถึง 11 ปี (ฮาโรลด์ วิลสันได้สิ้นสุดลงแล้วสำหรับวัยรุ่น) หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ขนานนามว มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นว่า "มาร์กาเร็ต แทตเชอร์: ผู้ฉกฉวยนม"[11] แม้จะมีมาตรการเหล่านี้ รัฐบาลของฮีธก็สนับสนุนให้การใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอย่างมาก

บทบัญญัติจัดทำขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติประกันแห่งชาติ พ.ศ. 2513 (บำเหน็จบำนาญและเงินบำนาญของผู้สูงอายุและหญิงม่าย) สำหรับเงินบำนาญที่จะจ่ายให้กับคนชราที่ได้รับการยกเว้นจากโครงการบำเหน็จบำนาญก่อนปี ค.ศ. 1948 และได้รับการยกเว้นจากโครงการที่ครอบคลุมซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1948 ผู้คนประมาณ 100,000 คนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยครึ่งหนึ่งได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมภายใต้โครงการประกันสังคม พระราชบัญญัติยังได้ปรับปรุงโครงการเงินบำนาญของแม่ม่ายด้วยการแนะนำอัตราเริ่มต้นที่ 30 ชิลลิงต่อสัปดาห์สำหรับผู้หญิงที่เป็นม่ายเมื่ออายุ 40 ปีและเพิ่มขึ้นเป็นอัตราเต็ม 5 ปอนด์เมื่ออายุ 50 ปี[12]

มีการให้การสนับสนุนสำหรับการสร้างโรงเรียนอนุบาลและได้มีการเปิดตัวโครงการลงทุนในอาคารเรียนระยะยาว และมีการจัดตั้งกองทุนครอบครัวขึ้นเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีเด็กที่มีภาวะพิการแต่กำเนิด[13]

ใกล้เคียง

เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ เอ็ดเวิร์ด ฮีธ เอ็ดเวิร์ด สมิธ เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เอ็ดเวิร์ด เฟอร์ลอง เอ็ดเวิร์ด สมิธ-สแตนลีย์ เอิร์ลที่ 14 แห่งดาร์บีย์ เอ็ดเวิร์ด สโตรเบล เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน เอ็ดเวิร์ด คัลเลน